วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ


ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึงภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 60 มก,/ดล. หรือผู้ป่วยเบาหวานบางรายแค่ 70 มก./ดล. ก็สามารถเกิดได้ถ้ามีประวัติน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ ซึ่งภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาแบบรับประทาน หรือฉีดอินซุลินอยู่

สัญญาณว่าเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถส่งผลกับอาการทางประสาทได้ 2 ประเภทคือ ระบบประสาทส่วนกลาง ในกลุ่มนี้จะเกิดอาการ หลงลืม เซื่องซึม และสับสน ศ่วนอีกประเภทนึงคือระบบประสาทอัตโนมัติ ในกลุ่มนี้จะเกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหวิว และหิว ถ้าผู้ป่วยเบาหวานใกล้ตัวมีอาการดังกล่าวควรรีบแก้ไขโดยเร็วเนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดอาการชัก และหมดสติได้

เมื่อเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรทำอย่างไร

     - ถ้าเกิดอาการไม่มาก หรือเกิดอาการใกล้เคียงเวลารับประทานอาหาร ควรรีบรับประทานอาหาร หรือของว่างทันที โดยให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือรัปประทานอาหาร จำพวกขนมปังก่อน
   
     - ถ้าเกิดอาการมาก แต่ยังรู้สึกตัว ให้รีบดื่มน้ำหวาน 1/2 - 1 แก้ว, ลูกอม 1 - 2 เม็ด หรือน้ำตาล 1 - 2 ก้อน แล้วสังเกตุอาการ ถ้าอาการดีขึ้นใน 5 - 10 นาทีให้รีบรับประทานอาหาร แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นให้ดื่มน้ำหวานซ้ำก่อนอีก 1 แก้ว

     - ถ้าเกิดอาการรุนแรงและหมดสติ ให้รีบนำส่งคลินิก, หรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือแจ้งทางเบอร์ 1669 ให้แจ้งว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วย โดยห้ามให้ลูกอม หรือน้ำหวานเพราะอาจทำให้สำลักได้

วิธีป้องกันตัวจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

แม้เป็นโรคแทรกซ้อนที่น่ากลัว แต่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถป้องกันได้ เพียงรับประทานอาหารให้เป็นเวลา และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง หากผู้ป่วยเบาหวานต้องรับประทานยารักษาโรคอื่นด้วยควรปรึกษาแพทย์ว่าทานร่วมกับยาเบาหวานได้ไหมเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาล

หากผู้ป่วยเบาหวานที่มีการรับประทานยาหรือฉีดอินซูลิน ต้องกายออกกำลังกายเกิน 30 นาทีต่อเนื่องกันควรรับประทานของว่าง จำพวก ผลไม้ นม ขนมปัง ก่อนออกกำลังกายประมาณ 1 ชั่วโมง 

และท้ายสุดควรพกลูกอม หรือน้ำผลไม้ติดตัวไว้เผื่อเกิดอาการ

วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เป็นเบาหวานทานผลไม้อะไรดี?

ผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน


ขึ้นชื่อว่าเบาหวานต้องระวังเรื่องอาหารการกิน ผลไม้ส่วนใหญ่ก็มีปริมาณน้ำตาลสูงซึ่งทำให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นเบาหวานไม่ควรทานผลไม้ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่กับผลไม้ทุกชนิด บางชนิดก็ช่วยควมคุมน้ำตาลในเส้นเลือดไม่ให้อาการของโรคหนักขึ้นได้ เรามาดูกันดีกว่าว่ามีผลไม้ประเภทไหนบ้างที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถทานได้

แอปเปิ้ล 

แอปเปิ้ลมีเส้นใยที่ละลายในน้ำที่ชื่อว่า "เพกทิน" อยู่สูงมาก ซึ่งเจ้าเพกทินที่ว่าสามารถดักจับไขมัน ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือด การทานแอปเปิ้ลจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงเร็วเกินไป แต่จะค่อยๆเพิ่มขึ้น และยังมีวิตามินต่างๆอยู่อีกมากมาย หนำซ้ำแอปเปิ้ลยังมีไฟเบอร์สูง ซึ่งมีงานวิจัยรองรับมาแล้วว่า ผู้ที่ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเป็นประจำมีอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้ที่ทานอาหารมีมีไฟเบอร์น้อย ดังนั้นแอปเปิ้ลจึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างมาก แต่ควรเลือกทานแอปเปิ้ลเขียวมากกว่าแอปเปิ้ลแดง เนื่องจากแอปเปิ้ลเขียวมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่า

ปริมาณที่แนะนำ แอปเปิ้ลเขียว 1 ลูก หลังอาหาร 1 มื้อ

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ของฝรั่ง อย่างสตอเบอรี่ เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ของไทย เช่น ลูกหว้า มะขามป้อม มะยม โทงเทงฝรั่ง ตะขบ เป็นต้น มีไฟเบอร์สูง อีกทั้งอุดมไปด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้เชอร์รี่ยังมีสารที่ชื่อว่า  แอนโตไซยานินส์ (anthocyanins) ซึ่งเป็นสารเคมีตามธรรมชาติที่พบในผลไม้สีแดงเข้ม ซึ่งสารที่ว่านี้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และเพิ่มการผลิตสารอินซูลินในร่างกาย เรียกได้ว่าเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานมากๆ แต่ควรทานผลไม้ตระกูลเบอร์รี่แบบสดๆเท่านั้น เนื่องจากเมื่อผ่านกระบวนการถนอมอาหารแล้ว มักมีปริมาณน้ำตาลสูงขึ้นมากซึ่งไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน

ปริมาณที่แนะนำ มื้อละไม่เกิน 12 ผล

ส้มโอ

ผลไม่ไทยอย่างส้มโอมีไฟเบอร์และวิตามินซีสูงมาก และยังมีสารที่ชื่อว่า  flavonoid naringenin ซึ่งช่วยสร้างความสมดุลให้แก่อินซูลิน และรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ซ้ำยังมีงานวิจัยรองรับว่าการทานส้มโอเป็นประจำช่วยป้องกันไม่ให้โรคเบาหวานลุกลามได้

ปริมาณที่แนะนำ 1-2 กลีบต่อวัน

ฝรั่ง

ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าคับผล มีไฟเบอร์สูง อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม ซ้ำยังมีพฤกษเคมี ตัวสำคัญๆ คือ เพคติน และเทนนิน และยังมีไขมันต่ำ การทานฝรั่งเป็นประจำนอกจากช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือดแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคได้หลายโรคและยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งอีกด้วย

ปริมาณที่แนะนำ 1 ผลเล็ก ทานแบบสดๆ ไม่ทานร่วมกับพริกเกลือ

แก้วมังกร

แก้วมังกร 1 ผล มีวิตามินซี แร่ธาตุมากมายหลายชนิด และเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง แคลลอรี่ต่ำ ซ้ำยังช่วยดับกระหาย การทานแก้วมังกรเป็นประจำนอกจากช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแล้ว ยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เรียกได้ว่าเป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักด้วย

ปริมาณที่แนะนำ 10 - 12 คำต่อ 1 มื้อ

เป็นยังไงครับเห็นรึเปล่าว่าผลไม้หลายๆชนิดเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจริงๆแล้วยังมีอีกหลายชนิด ซึ่งจะขอแนะนำในโอกาสต่อๆไปครับ

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เบาหวานขึ้นตา ภัยเงียบที่ควรป้องกัน

เบาหวานขึ้นจอประสาทตา

โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา หรือเรียกสั้นๆว่าเบาหวานขึ้นตา เป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งเบาหวานประเภทที่ 1 และเบาหวานประเภทที่ 2 เนื่องจากเมื่อเป็นเบหวานเป็นเวลานานจะส่งผลให้หลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกายหรือถึงเส้นเลือดในจอประสาทตาด้วย และเมื่อหลอดเลือดเสื่อมถึงจุดๆหนึ่งเลือดและสารต่างๆในเส้นเลือดจะซึมออกจากหลอดเลือดรวมถึงในจอตาด้วยทำให้สายตาพร่ามัว ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรพบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้งเพื่อตรวจจอประสาทตาว่ายังปรกติดีหรือไม่ เนื่องจากในระยะแรกสายตาจะไม่แย่ลงมากนัก ซึ่งโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาจะแบ่งเป็น 2 ระยะตามความรุนแรง

1. ระยะที่ยังไม่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่

ในระยะนี้จะเกิดการเสื่อมของผนังหลอดเลือดฝอยที่จอประสาทตา ทำให้เกิดอาการหลอดเลือดฝอยโป่งพอง ซึ่งเป็นอาการแรกที่ตรวจพบในโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา อาการต่อไปคือเส้นเลือดเหล่านั้นเกิดการแตก ทำให้เกิดจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายไปทั่ว นอกจากนี้รูรั่วนั้นจะทำให้น้ำและไขมันที่อยู่ในเส้นเลือดรั่วออกมาด้วย น้ำจะทำให้จอประสาทตาบวมน้ำ ถ้าจุดบวมน้ำเกิดขึ้นที่บริเวณจุดภาพชัด (macular edema) จะทำให้สายตาพร่ามัว ส่วนไขมันจะทำให้เกิดจุดไขมันสีเหลือง

2. ระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่

ในระยะนี้เกิดขึ้นจาก เส้นหลอดฝอยที่เสื่อมลงเกิดการอุดตันทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาขาดเลือด กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่ แต่เส้นเลือดฝอยที่สร้างขึ้นมาใหม่จะเปราะและแตกง่าย และเส้นเลือดฝอยที่สร้างมาใหม่เหล่า จะทำให้เกิดพังผืดรั้งจอประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยสายตาแย่ลงอย่างมากสาเหตุจาก เลือดออกในจอประสาทตาและจอประสาทตาลอก

อาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

หากคุณเป็นเบาหวานอยู่แล้ว หรือคนใกล้ตัวที่เป็นเบาหวานเกิดอาหารเหล่านี้ควรพาไปพบแพทย์จักษุแพทย์เพื่อให้ตรวจจอประสาทตาอย่างละเอียด เพราะโรคนี้อาจจะทำให้ตาบอดได้
     
     - รู้สึกว่าสายตาพร่ามัวลง
     - การมองเห็นมืดลงอย่างฉับพลัน
     - มองเห็นภาพมืดด้านใด ด้านหนึ่ง
     - มองเห็นภาพซ้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว

การรักษา

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ควรรีบทำการรักษาทันที เพราะแม้ว่าในระยะเริ่มแรกสายตาจะยังเป็นปรกติ แต่เมื่อเป็นโรคนี้นานๆ จะทำให้ตาบอดได้ และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต้อกระจก หรือต้อหินร่วมด้วย ในปัจจุบันมีการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา 3 วิธี

1. รักษาด้วยการยิงเลเซอร์ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษา โดยยิงเลเซอร์ไปยังบริเวณที่มีการสร้างเส้นเลือดใหม่ หรือบริเวณที่จุดภาพชัดบวมน้ำ ซึ่งเลเซอร์จะทำให้เส้นเลือดที่สร้างใหม่ฝ่อลง และจุดภาพชัดที่บวมน้ำยุบลง แต่การยิงเลเซอร์ต้องแบ่งยิงหลายครั้งถ้ามีการบวมน้ำ หรือสร้างเส้นเลือดใหม่หลายจุด เพื่อป้องกันจอประสาทตาบวมจากการยิงเลเซอร์ ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อนในการรักษาน้อย

2. รักษาด้วยการผ่าตัด จะใช้ในผู้ป่วยรายที่เกิดผังผืดดึงรั้งจอประสาทตา หรือจอประสาทตาลอก การผ่าตัดวุ้นตา อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามและซ่อมแซมให้จอประสาทตาที่ลอกกลับเข้าที่เดิม แต่การรักษาอาจไม่ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น ขึ้นอยู่กับอาการและ ความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย

3. รักษาด้วยยา เป็นการรักษาวิธีใหม่ ทำโดยการฉีดยาที่มีฤทธิ์ช่วยลดการรั่วของหลอดเลือด และทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองฝ่อลงเข้าไปในวุ้นตา การรักษาด้วยวิธีนี้ค่อนข้างได้ผล แต่ผลของยาอยู่ได้ไม่นานและมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา เช่น เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ, เลือดออกบริเวณวุ้นตาเป็นต้น นอกจากนี้เนื่องจากยาที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่มคือ สเตียรอยด์และยาต้านการสร้างเส้นเลือดใหม่ ซึ่งสเตียรอยด์อาจส่งผลให้เกิดต้อกระจกหรือต้อหินในผู้ป่วยบางรายด้วย

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เบาหวานขณะตั้งครรภ์รับมืออย่างไร?

เบาหวานขณะตั้งครรภ์

คุณแม่มือใหม่ทุกคนไม่มีใครอยากให้เกิดโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์เพราะอาจจะส่งผลต่อลูกในครรภ์ได้ แต่เมื่อตั้งครรภ์ รกจะสร้างฮอร์โมนบางชนิดที่สามารถต่อต้านอินซูลินที่คอยควมคุมระดับน้ำตาลในเลือดออกมา ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ภาวะนี้อาจส่งผลต่อทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงควรรีบฝากครรภ์ตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เพื่อให้แพทย์ควรอย่างละเอียดและป้องกันหรือบรรเทาโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมี 2 ประเภทคือ

1. เป็นเบาหวานอยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์

เป็นชนิดที่พบได้ทั้งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานในลักษณะก่อนตั้งครรภ์จะมีความรุนแรง และตัวโรคส่งผลต่อการสร้างอวัยวะของทารก ซึ่งอาจทำให้ทารกมีความผิดปรกติหรืออาจแท้งได้

2. เพิ่งเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เป็นกรณีที่พบได้ประมาณ 12% ของคุณแม่ทั้งหมดและคิดเป็น 90% ของผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีโอกาศเกิดตั้งแต่อายุครรภ์ 20 - 28 สัปดาห์ ซึ่งเมื่อเป็นอาจส่งผลให้ทารกตัวโต คลอดยาก หรือแท้งได้เมื่อใกล้กำหนดคลอด

แล้วคุณแม่คนไหนมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์บ้าง?

กลุ่มคุณแม่ที่มีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือคุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มนี้

     - คุณแม่ที่คนในครอบครัวเช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือพี่น้องท้องเดียวกัน เป็นโรคเบาหวาน
     - คุณแม่ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
     - คุณแม่ที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
     - คุณแม่ที่ตรวจพบว่ามีน้ำคร่ำมากกว่าปรกติ
     - ตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะ 2 ครั้งติดต่อกันขณะตั้งครรภ์
     - คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมาก
     - เคยตั้งคลอดบุตรมาแล้วหลายคน
     - เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
     - คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปี
     - เคยแท้งบุตรโดยไม่ทราบสาเหตุ 3 ครั้งติดต่อกันขึ้นไป
     - เคยตั้งครรภ์ แล้วบุตรเสียชีวิตในครรภ์, เสียชีวิตตอนคลอด หรือเสียชีวิตแรกคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ

ความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์

เมื่อเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะทำให้ทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ผิดปรกติ เป็นอุปสรรคต่อการคลอด ซึ่งอาจทำให้แท้งได้ และหลังคลอดทารกจะมีพัฒนาการด้านการหายใจช้ากว่าทารกทั่วไป ไม่สามารถหายใจเองได้เมื่อแรกคลอด เสี่ยงต่อภาวะเหลืองหลังคลอดมากกว่าทารกทั่วไปและ อาจจะพบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกได้ ซึ่งอาการนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจจะส่งผลต่อสมองของทารก

การรับมือกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์

รับมือไม่ยากแค่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปรกติเหมือนผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปแค่นั้นเองครับ แต่การทานอาหารควรทานเป็นมื้อเล็กๆ แต่หลายมื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปรกติ ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างเกิน 3 - 4 ชั่วโมง และห้ามอดอาหาร อย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ปรกติ 

การรับประทานอาหารควรเลือกรับประทานดังนี้

     ควรทานผักให้มากขึ้นอย่างน้อย 1/3 ของมื้อ (จะผ่านกรรมวิธีการปรุงอาหารอย่างต้ม นึ่งก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นผักทอด) 

     หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น แป้งขัดสีอย่างขนมปังขาว, พาสต้า, ข้าว และคอนเฟล็ก, น้ำตาล, น้ำหวาน, น้ำอัดลม, และแยมผลไม้ หากจะรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต พวกเลือกทานพวกข้าวก้อง หรือขนมปังธัญพืชจะดีกว่า

     พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เบคอน กุนเชียง หรืออาหารจำพวกที่มีหนัง หรือมันสัตว์เลือกทานเฉพาะเนื้อที่ไม่ติดหนัง

นอกเหนือจากนี้ การออกกำลังกายก็ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีครับ ไม่จำเป็นต้องออกแรงมาก ขอแค่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจให้เพิ่มขึ้นซักเล็กน้อยก็พอเพียงแล้ว เช่นเดินหลังอาหารเช้า และเที่ยง ซัก 15 - 30 นาที เพื่อให้ร่างกายใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงโรคเบาหวาน โดยทั่วไปจะหมายถึง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) หรือ โรคเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน เนื่องจาก 90% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุของโรคเกิดจากหลายๆปัจจัยรวมกัน แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุนำที่จะก่อให้เกิดโรคได้ โดยรวมๆเกิดจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน 

อาการของผู้ป่วย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ถือเป็นภัยเงียบเพราะถ้าจะเป็นก็ไม่มีอาการใดๆแสดงให้เห็น บางคนตรวจพบเพราะโรคแทรกซ้อน ยิ่งใช้ชีวิตแบบคนเมืองยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มาก อย่างไรก็ดีเบาหวานชนิดที่ 2 ตรวจพบได้มากในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ไม่จำกัดเพศ และเมื่อเป็นแผล แผลจะหายช้ากว่าปรกติ มีอาการชาตามมือและเท้า สายตาพร่ามัว

ซึ่งส่วนใหญ่อาการที่พบมักจะเป็นอาการของโรคแทรกซ้อน เนื่องจากเมื่อเป็นเบาหวานระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงผิดปรกติ เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้ระบบของร่างกายรวน ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อย ก็คือ เบาหวานลามเข้าจอประสาทตา, ไตวายเรื้อรังจากเบาหวาน, ภาวะน้ำตาลสูง, โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน และโรคความดันโลหิตสูง

การป้องกันและหลีกเลี่ยง

เนื่องจากในปัจจุบันยังระบุสาเหตุที่เป็นปัจจัยนำที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานไม่ได้ แต่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นเบาหวานควรจะปฏิบัติดังนี้

     - หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้คงที่
     - ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานตามหลักโภชนาการ
     - หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
     - หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการทำลายเชลล์ของตับอ่อน

การดูแลตัวเองเมื่อตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน

เมื่อตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน ควรดูแลตัวเองให้เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมาอีก เพราะสาเหตุที่ผู้ป่วยเสียชีวิตส่วนใหญ่จะมาจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมา การดูแลตัวเองควรทำดังนี้ 

     - ควบคุมอาหารโดย ให้งดการบริโภคน้ำตาล, อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่นน้ำอัดลม
     - เน้นการบริโภคผักและผลไม้
     - อย่าอดอาหาร เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ และเมื่อรับประทานยาโรคเบาหวานโดยที่ไม่ทานอาหารอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
     - ระวังอย่าให้เป็นแผล เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการแผลหายช้า อาจทำให้เกิดการติดเชื้อจนต้องตัดอวัยวะที่เป็นแผลทิ้ง เพื่อรักษาอาการในส่วนอื่น
    - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของแพทย์

รู้อย่างนี้แล้วใครอยากอยู่ห่างไกลโรคเบาหวาน อย่าลืมปฎิบัติตามนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานชนิดที่ 1


โรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือโรคเบาหวานในเด็ก เป็นโรคเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลินตรวจพบประมาณ 5 - 10% ของผู้ป่วยโรคเบาหานทั้งหมด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคคือ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, พันธุกรรม, สภาพแวดล้อมของผู้ป่วย สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคคือ ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เนื่องจากเบต้าเซลล์ (beta cells) ของตับอ่อนถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย น้ำตาลจึงอยู่ในกระแสเลือด จำเป็นต้องได้รับอินซูลินด้วยการฉีด หรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

พบในผู้มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ทั้งชายและหญิง รูปร่างผอม สามารถเกิดโรคแบบเฉียบพลัน เมื่อเกิดโรคจะมีอาการ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย อยากอาหารบ่อย น้หนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย 

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

      - ภาวะคีโตซีส (Diabetic acidosis, DKA)
      - ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
      - โรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ตา ไต เส้นประสาท เส้นเลือดที่ขาตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ

การดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

เนื่องจากเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานชนิดที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง จึงควรเน้นการลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ โดยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยวันละ  4 ครั้งเพื่อปรับปริมาณการฉีดอินซูลินให้เหมาะสม (ควรมีเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง) โดยทั่วไปเมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์จะแนะนำ ขนาดของยา เมื่อทราบผล น้ำตาลในเลือดว่าเท่าไร และควรปรับยาฉีดอย่างไร

การควบคุมอาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรวางแผนการรับประทานอาหารให้ มีพลังงานคงที่ในแต่ละมื้อ และห้ามงดอาหารในแต่ละมื้อ โดยแต่ละมื้อควรประกอบด้วย อาหารที่มีไขมันต่ำ โปรตีนปานกลาง และ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวและผักชนิดต่างๆ 

การออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับปริมาณอาหาร ให้เหมาะสมกับการออกกำลังกาย และควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะสั้นและระยะยาว 

วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รู้จักกับโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานชนิดต่างๆกัน จริงๆแล้วตัวโรคเบาหวานเองไม่ได้เป็นอันตรายมากนัก ที่น่ากลัวคือโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน แต่ก่อนอื่นเรามารู้จักกับโรคเบาหวานกันก่อน

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการเสียสมดุลของการใช้น้ำตาลในเลือด สามารถพบได้ในคนทุกอายุและทั้งสองเพศ และมีโอกาศเป็นมากขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้น ส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายไม่ว่าจะเป็น ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง 

เบาหวานมีหลายประเภท ไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้ชัดเจน แต่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภท 

1. เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) พบได้น้อยเพียงแค่ 5% จากการเกิดเบาหวานทั้งหมด สาเหตุเกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติ หรือสร้างไม่ได้เลย  เนื่องจากเบตาเซลล์(beta cells) ของตับอ่อนถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วยต้องรับรักษาด้วยอินซูลินด้วยการฉีดหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่น

2. เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เบาหวานชนิดนี้ตรวจพบได้เยอะที่สุดจากผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดขึ้นได้ทุกวัยและทุกเพศแต่มักพบในผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงโรคเบาหวานจะหมายถึงเบาหวานชนิดนี้ สาเหตุการที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่ก็มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกายเป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยอินซูลิน

3. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ พบได้น้อยเพียง 2 - 5% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด และเกิดขึ้นเฉพาะช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น โดยที่ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อน